เทคนิคการวิ่งสำหรับมือใหม่-วิ่งยังไงให้ไม่เหนื่อยง่าย

เทคนิคการวิ่งสำหรับมือใหม่ วิ่งยังไงให้ไม่เหนื่อยง่าย

เทคนิคการวิ่งสำหรับมือใหม่ วิ่งยังไงให้ไม่เหนื่อยง่าย

เทคนิคการวิ่งสำหรับมือใหม่ วิ่งยังไงให้ไม่เหนื่อยง่าย

เทคนิคการวิ่งสำหรับมือใหม่ วิ่งยังไงให้ไม่เหนื่อยง่าย หลายคนเมื่อเตรียมตัวจะวิ่งออกกำลังกายอย่างเต็มที่ แต่เมื่อได้วิ่งจริง ๆ กลับเหนื่อยง่ายเหนื่อยไว ฝืนวิ่งต่อไปคงจะหน้ามืดกันแน่นอน แอดมินมีวิธีจัดการความเหนื่อยง่ายนี้ มีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

1.เตรียมร่างกายให้พร้อม

เมื่อเราเตรียมกายเพื่อพร้อมที่จะวิ่งแล้ว อีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือใจ ละทิ้งความเครียดจากงาน ปล่อยวางเรื่องที่น่าปวดหัวไว้ก่อนที่จะวิ่ง เพราะหากเราแบกเรื่องพวกนี้ไปวิ่งด้วยจะส่งผลให้เราวิ่งออกกำลังกายไม่สนุก และส่งผลให้เราวิ่งออกกำลังกายได้น้อยลงและเหนื่อยเร็วอีกด้วย

2. อุ่นกล้ามเนื้อให้พร้อมรับการกระตุ้น (Warm Up)

การวอร์มอัพร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญ การอุ่นกล้ามเนื้อจะต้องไม่อยู่กับที่เท่านั้นแต่จะต้องเคลื่อนที่ไปมา ให้กล้ามเนื้อได้เกิดการกระตุ้นก่อนจะนำไปใช้จริง อย่างเช่น การวิ่งเขย่งก้าวสลับขา หรือยกขาขึ้นมากอด นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มอุณหภูมิของกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้รวดเร็วและมีแรงมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ส่งผลทำให้เราวิ่งได้นานขึ้นนั่นเอง

3. วิ่งบ้าง เดินบ้าง

สำหรับใครที่เป็นนักวิ่งมือใหม่ ไม่ว่าจะวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าหรือวิ่งสวนสาธารณะ แอดมินแนะนำให้วิ่งเหยาะ ๆ จนกว่าจะรู้สึกเหนื่อยจากนั้นจึงสลับมาเป็นการเดินไว หากวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าแอดมินแนะนำให้ปรับระดับความเร็วที่ 4 -5 เพื่อทำให้ร่างกายของเราแอคทีฟอยู่ตลอดเวลา จากนั้นลองเปลี่ยนมาวิ่ง 5 นาทีอัตราการเต้นของหัวใจของเราจะสูงขึ้น และลดลงมาเดิน 3 นาที เป็นการฝึกให้เราแข็งแรงขึ้นนั่นเอง

4.หายใจตรงจังหวะ วิ่งได้นานขึ้น

เทคนิคการหายใจอย่างถูกวิธีในขณะวิ่งเป็นสิ่งที่มือใหม่ควรจะต้องเรียนรู้ เพราะการหายใจถูกหลักช่วยทำให้เราวิ่งได้นานขึ้น ไม่หอบเหนื่อยก่อน

โดยจังหวะการหายใจในการวิ่งที่นักวิ่งมือใหม่ควรรู้ และนำไปฝึกจะเป็นตามนี้

  • จังหวะการวิ่ง 2-2 (in 2, out 2)

หายใจเข้าพร้อมกับก้าวเท้าขวา นับ 1 (ให้เพื่อน ๆ เรียกว่า in จะเข้าใจง่ายกว่า)

เท้าซ้ายลงพื้นนับ 2 (ก็ยังเป็น in 2)

เท้าขวาลงนับ 1 (ให้เรียกว่า out 1)

ซ้ายลงนับ 2 (ให้เรียกว่า out 2)

เท้าขวาลงอีกครั้งนับ 1 หรือ in ก็คือรอบจังหวะการหายใจต่อไป

จะเห็นได้ว่าการหายใจเข้าออกจะลงที่เท้าขวาทุกครั้ง และจังหวะแรงกระแทกที่ส่งจากช่วงล่างจากเท้าที่กระทบพื้น สู่ช่วงลำตัวและกล้ามเนื้อกะบังลม (Diaphragm) ขณะยืดหดตัวนั้นก็มาจากเท้าขวา ทุกครั้งที่หายใจเราก็ได้รับแรงจากด้านขวาเพียงข้างเดียว

  • จังหวะการวิ่ง 3-2 (in 2,3 out 2)

จังหวะที่ก้าวเท้าขวาลงหายใจเข้านับ 1 (เรียกว่า in 1 เหมือนเดิม)

ขาซ้ายก้าวนับ 2 (ให้เรียกว่า in 2)

ขาขวาก้าวนับ 3 (ให้เรียกว่า in 3)

ขาซ้ายก้าว และหายใจออกนับ out (ให้เรียกว่า out 1)

ขาขวาก้าวนับ 2 (ให้เรียกว่า out 2)

ขาซ้ายลง และหายใจนับ 1 หรือ in ก็คือรอบจังหวะการหายใจต่อไป

สรุปก็คือ การสร้างจังหวะวิ่งแบบ 3-2 หรือช่วงจังหวะหายใจเข้าจะลงเท้า 3 ครั้ง และหายใจออก 2 ครั้ง จะช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บได้ดีขึ้นมาก เพราะช่วงที่เราหายใจอยู่นั้นกล้ามเนื้อจะมีการยืดหด และจะเห็นได้ว่าจังหวะหายใจเข้าจะสลับกันระหว่างซ้ายและขวา ทำให้กะบังลมไม่ต้องรับแรงกระแทกอยู่ที่ข้างใดข้างหนึ่งนั่นเอง แต่ในการนำไปใช้ช่วงแรกเพื่อน ๆ ลองฝึกหายใจโดยการเดินวอร์มอัพเบา ๆ ก่อน เพื่อปรับตัวให้คุ้นเคยกับการหายใจและจังหวะลงของเท้า

และนี่ก็เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้สุขภาพของเราดีขึ้นจากการวิ่งออกกำลังกาย และหากใครกำลังมองหาตัวช่วยที่จะให้คุณออกกำลังกายและมีสุขภาพดีด้วยลู่วิ่ง Johnson หรือเครื่องออกกำลังกายอื่น ๆ ของเราได้ที่ Johnson fitness หรือติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นบน Facebook ได้ที่ Johnson Health Tech Thailand

สนใจสินค้าลู่วิ่งไฟฟ้าและเครื่องออกกำลังกาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร 02-751-9360 ,090-090-6797

LINE@ : https://lin.ee/aNh3uZF

http://m.me/Johnsonfitness.TH/

Johnson Website : https://johnson.co.th