เอาตัวรอดจากเหตุไฟไหม้ในอาคารสูง

เอาตัวรอดจากเหตุไฟไหม้ในอาคารสูง

เอาตัวรอดจากเหตุไฟไหม้ในอาคารสูง

เอาตัวรอดจากเหตุไฟไหม้ในอาคารสูง การเกิดไฟไหม้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และบ่อยครั้งเรามักจะได้ยินข่าวการเกิดเพลิงไหม้ตามอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ที่มีผู้อาศัยจำนวนมาก ซึ่งพื้นที่ใช้งานที่กว้างขวางและความสูงของอาคารนี่เอง ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ได้รับอันตรายกรณีเกิดเพลิงไหม้ อีกทั้งหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะยากต่อการเข้าช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ ซึ่งวันนี้ Seohan มีคำแนะนำจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหากเราเกิดตกอยู่ในสถานการณ์เพลิงไหม้อาคารสูงมาบอกให้จดจำกันไว้เผื่อเหตุฉุกเฉินนะคะ

ข้อควรปฏิบัติกรณีเพลิงไหม้อาคาร

  1. ตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก
  2. ตะโกนบอกหรือกดสัญญาณแจ้งเตือนให้ผู้อื่นอพยพออกจากอาคาร จากนั้นโทรศัพท์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงมาระงับเหตุและควบคุมเพลิง
  3. ใช้มือสัมผัสผนังหรือลูกบิดประตูก่อนออกจากห้อง หากมีความร้อนสูงแสดงว่าเกิดเพลิงไหม้บริเวณใกล้เคียง ห้ามเปิดประตูออกไป เพราะควันไฟและเปลวเพลิงจะเข้ามาในห้อง อีกทั้งการถ่ายเทอากาศ จะทำให้เพลิงไหม้รุนแรงมากขึ้น แต่หากลูกบิดไม่ร้อน ให้เปิดประตูออกไปช้า ๆ และหมอบคลานต่ำไปตามเส้นทางอพยพหนีไฟที่ปลอดภัยในทันที
  4. หลีกเลี่ยงการสูดดมควันไฟเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจโดยตรง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปากหรือนำถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาคลุมศีรษะ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย ทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
  5. ให้อพยพไปตามเส้นทางที่ปลอดภัย โดยใช้บันไดหนีไฟในการอพยพออกจากอาคาร เนื่องจากบันไดหนีไฟมีช่องระบายอากาศ จึงช่วยลดการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย ห้ามหนีไปในทิศทางที่สวนกับควันไฟและความร้อน หากจำเป็นให้หมอบคลานต่ำ เนื่องจากอากาศบริสุทธิ์ที่อยู่เหนือระดับพื้นไม่เกิน 1 ฟุต หรือย่อตัวใกล้ระดับพื้นมากที่สุด เพราะไอความร้อนและควันไฟจากเพลิงไหม้จะลอยตัวขึ้นสู่ด้านบน
  6. ห้ามใช้ลิฟต์ และบันไดภายในอาคารอพยพหนีไฟ เพราะมีลักษณะเป็นช่อง ทำให้ควันไฟ ความร้อนและเปลวเพลิงสามารถลอยเข้าไปได้ ส่งผลให้สำลักควันไฟเสียชีวิต อีกทั้งเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้ลิฟต์หยุดทำงาน จึงติดค้างอยู่ในลิฟต์ ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้
  7. ไม่ควรอพยพหนีไฟเข้าไปอยู่บริเวณที่เป็นจุดอับของอาคาร อาทิ ห้องน้ำ ห้องใต้ดิน รวมถึงไม่หนีไฟขึ้นไปบนดาดฟ้า เพราะไฟจะลุกลามจากด้านล่างขึ้นบน รวมถึงยากต่อการเข้าช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่
  8. กรณีติดอยู่ในอาคาร แนะนำว่าให้ใช้รอกหนีไฟเป็นตัวช่วย เนื่องจากรอกหนีไฟคืออุปกรณ์หนีไฟแบบพกพาเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตในยามฉุกเฉิน ผู้อพยพสามารถใช้โรยตัวจากที่สูง ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้สูงสุด 150 กก.

หากเราสามารถจดจำและเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายเมื่อเกิดเพลิงไหม้อาคารสูงได้ และเพิ่มโอกาสที่เราจะเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้มากขึ้นด้วย

สำหรับใครที่สนใจอุปกรณ์ในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์เพลิงไหม้สำหรับตึกสูงได้ทันเวลาและปลอดภัย เราขอแนะนำอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยของ Seohan เพราะเราคือบริษัทชั้นนำที่นำเข้าธุรกิจการผลิตเพื่อความปลอดภัยอันดับ 1 จากเกาหลี

หากสนใจรอกหนีไฟ Seohan สามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่โทร 096-5536955, 081-8999731

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ : hilight.kapook.com